วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 1 : การเตรียมงานวิจัยประจำภาคเรียน

วิธีการทำ
1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 คน
จัดส่งรายชื่อกลุ่ม ชื่อสมาชิก และ
หัวหน้ากลุ่ม ก่อนเริ่มดำเนินงาน โดยงานทุก ๆ ชิ้นให้ใช้ตัวอักษร ดังนี้
- หัวข้อตัวหนาขนาด Cordia New 18
- เนื้อเรื่องขนาด 16


2. ให้หัวหน้ากลุ่ม ทำการจับสลากหัวข้อที่ต้องศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามหัวข้องานวิจัยดังนี้


ตารางที่ 1 หัวข้องานวิจัยมหาวิทยาลัย
ชื่ออาจารย์ผู้ประเมิน
ชื่อเรื่องงานวิจัย
1. อ.ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์ : นวัตกรรมทางการศึกษา

2. อ.ชวาลิน เนียมสอน : แนวทางการพัฒนา web สำหรับ SMEs

3. อ.สุภารัตน์ คุ้มบำรุง : ติดต่ออาจารย์ผู้สอน

4. อ.ลักษณสุภา บัวบางพลู : ระบบสารสนเทศเพื่อการผลิต

5. อ.อัญชนา ลักษณ์วิรามสิริ : พรบ.คอมพิวเตอร์

ตารางที่ 1 หัวข้องานวิจัยในชั้นเรียน
ชื่ออาจารย์ผู้ประเมิน
ชื่อเรื่องงานวิจัย

1. อ.ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์ : การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
2. อ.ชวาลิน เนียมสอน :1. เทคโนโลยีมัลติมีเดียสำหรับงานธุรกิจ และ 2. การออกแบบกราฟิกในงานธุรกิจ
3. อ.สุภารัตน์ คุ้มบำรุง :โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า
4. อ.ลักษณสุภา บัวบางพลู :1.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจ และ 2.สัมมนาทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
5. อ.อัญชนา ลักษณ์วิรามสิริ :การสื่อสารข้อมูลทางธุรกิจและการจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์


3. รายงานตัว และเสนอข้อมูลให้อาจารย์ผู้ประเมินพิจารณา หากข้อมูลที่คัดเลือกมาผ่านการพิจารณา นักศึกษาสามารถเตรียมทำงานวิจัย ในทุก ๆ ส่วน โดยศึกษาหลักการทำวิจัยจากในชั้นเรียน เอกสารอ้างอิง วิทยานิพนธ์ โดยให้นักศึกษาทำการรายงานผลความคืนหน้ากับอาจารย์ผู้ประเมินเป็นระยะ เพื่อเก็บคะแนนการประเมินจากอาจารย์ผู้ประเมินผล และรายงานผลความคืนหน้ากับอาจารย์ประจำรายวิชา ซึ่งแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคลในชั้นเรียน ทุก ๆ สัปดาห์

กำหนดการส่งงาน
- ทุก ๆ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้ประเมินได้มอบหมาย (ขอลายเซ็นอาจารย์เป็นหลักฐาน ห้ามขอลายเซ็นย้อนหลังเด็ดขาด)
- ปลายภาคเรียนต้องมีหลักฐานการส่งงานให้อาจารย์ผู้ประเมินรายสัปดาห์แนบเล่มรายงาน


การประเมินผล
1. เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ทันสมัย เกี่ยวข้องในเนื้อหาที่กำหนด และนักศึกษาได้รับความรู้ หรือประโยชน์จากการวิจัยในครั้งนี้
2. Format ถูกต้องตามหลักการทำวิจัย และการประมวลผลด้วย SPSS


ข้อกำหนดเพิ่มเติม
: ห้ามนำเนื้อหาอ้างอิงมาจาก Internet โดยเด็ดขาด
: ให้ใช้รูปแบบการทำเล่มวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต หรือมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ ประกอบได้

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปผลโหวต : กิจกรรมที่ท่านต้องการให้เกิดขึ้นใน BIZCOM

อันดับ 1 คือ ชมรมคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 21
อันดับ 2 คือ กีฬาสร้างสัมพันธ์ ร้อยละ 17
อันดับ 3 คือ ติวหนังสือก่อนสอบ 1 เดือน ร้อยละ 16
ที่เหลือเลือก THANK YOU PARTY ร้อยละ 15

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบ้านสำหรับวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2552

แจ้งนักศึกษาวิชา โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า รหัสวิชา 4123604 ตอนเรียน A1 - D1 รับโจทย์การบ้านที่เว็บ Bizcom เนื่องจากมีปัญหาในการนำขึ้นที่ Blog นัดเก็บสมุดส่งการบ้านวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เวลา 16.30 น.ณ ห้องพักอาจารย์

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปผลโหวต : คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาต้องการ

อันดับ 1 คือ ให้คำปรึกษา พูดจาสุภาพ ร้อยละ 45
อันดับ 2 คือ รับฟังความคิดเห็น เสนอแนะความคิดได้ ร้อยละ 41
อันดับ 3 คือ เที่ยงตรง ยุติธรรม ร้อยละ 11
ที่เหลือเลือก แต่งกายเรียบร้อย สวยงาม ร้อยละ 3

ชิ้นงานคู่

1. ให้นักศึกษาจับคู่กันส่งข้อมูลเบื้องต้น : รายชื่อ-นามสกุล รหัสประจำตัวนักศึกษา และตอนเรียน การจัดพิมพ์ ด้วย Font: Cordia New 16 หัวข้อ Font: Cordia New 18 ผ่านทางเมล์ของนักศึกษา ขึ้นต้น u (ดูรายละเอียดข้อ 4.1)

2. ให้นักศึกษาส่งหัวข้อเรื่องที่สนใจ เพื่อทำฐานข้อมูลคลังสินค้าในประเภทต่าง ๆ ดังนี้2.1 ระบุหน่วยงาน/องค์กรที่เลือกจัดทำ (ห้ามซ้ำกันภายในตอนเรียนเดียวกัน)2.2 จัดส่งโดยใช้เมล์ของนักศึกษา ขึ้นต้น u ไปให้ผู้สอน

3. ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย (การจัดส่งในรูปแบบของ File เอกสาร)
3.1 ชื่อธุรกิจ/หน่วยงาน ที่ต้องการนำเสนอ
3.2 ประเภท/ลักษณะในการดำเนินธุรกิจ
3.3 โครงสร้างของหน่วยงาน/องค์กร Organization Chart
3.4 โครงสร้างของข้อมูลที่จะจัดทำคลังสินค้า เช่น ข้อมูลลูกค้า, สินค้า, พนักงาน, ผู้ผลิต, การชำระเงิน ฯลฯ ในรูปแบบ File Excel
3.5 อธิบายองค์ประกอบข้อ 3.4 โดยสรุป เช่น คุณลักษณะ, ปริมาณของข้อมูล และการเชื่อมโยง ส่ง mail (ดูรายละเอียดข้อ 4.2)3.6 ค้นหารูปภาพที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อประกอบการทำฐานข้อมูล เช่น ลูกค้า, สินค้า, พนักงาน ในรูปแบบ File GIF, JPEG หรือ TIFF
3.7 ทำการออกแบบฐานข้อมูลคลังสินค้า โดยใช้โครงสร้างของข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้ ประกอบด้วยเมนู Table, Form, Query, Report ซึ่งเป็นเครื่องมือจากโปรแกรม MS Access
3.8 ทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลคลังสินค้า ที่ได้ออกแบบไว้ในข้อ 3.7
3.9 ดำเนินการทดสอบการใช้งานโปรแกรมที่ได้ออกแบบมา เพื่อดูความถูกต้อง สมบูรณ์ ของชิ้นงาน (ดูรายละเอียดข้อ 4.3)
3.10 ทำการนำเสนอผลงานรายบุคคลที่แล้วเสร็จสมบูรณ์

4. เกณฑ์การจัดส่งงานในภาคเรียน ให้นักศึกษาดำเนินการส่งงานตามข้อกำหนด เมื่อผู้สอนทำการตรวจสอบเรียบร้อยจะทำการแนะนำ และให้ข้อเสนอแนะตอบกลับ จากนั้นนักศึกษาทำการวิเคราะห์ ปรับปรุง ปรึกษาผู้สอน และดำเนินการส่งใหม่ภายใน 7 วันหลังจากที่ได้รับการแนะนำ
4.1 ครั้งที่ 1 ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยใช้หัวข้อ INTG-INV-XX-AABB (หมายเหตุ XX หมายถึง ตอนเรียน; AA หมายถึง รหัสนักศึกษา 2 หลักสุดท้ายคนที่ 1; BB หมายถึง รหัสนักศึกษา 2 หลักสุดท้ายคนที่ 2)
4.2 ครั้งที่ 2 ดำเนินการตามข้อ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อที่ 3.1 - 3.5 ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ในหัวข้อ GRP1-INV-XX-AABB (หมายเหตุ XX หมายถึง ตอนเรียน; AA หมายถึง รหัสนักศึกษา 2 หลักสุดท้ายคนที่ 1; BB หมายถึง รหัสนักศึกษา 2 หลักสุดท้ายคนที่ 2)
4.3 ครั้งที่ 3 ดำเนินการตามข้อ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อที่ 3.6 - 3.9 ภายในวันที่ 1 กันยายน 2552 ในหัวข้อ GRP2-INV-XX-AABB (หมายเหตุ XX หมายถึง ตอนเรียน; AA หมายถึง รหัสนักศึกษา 2 หลักสุดท้ายคนที่ 1; BB หมายถึง รหัสนักศึกษา 2 หลักสุดท้ายคนที่ 2)
4.4 ครั้งที่ 4 ดำเนินการตามข้อ 3.10 ภายในวันที่ 18 กันยายน 2552

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การประกันคุณภาพหลักสูตร

1 การบริหารหลักสูตร
1.1 นักศึกษาต้องผ่านการคัดเลือก ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
1.2 ข้อกำหนดการเข้าเรียนนักศึกษาจะต้องเข้าฟังการบรรยายทุกกระบวนวิชาและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานโดยนักศึกษาจะต้องมีระยะเวลาเข้าฟังไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1.3 การจัดมาตรฐานการสอบและคุณภาพของการศึกษา
1.4 ระบบการสอบประมวลความรู้
1.5 การเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์
1.6 ระบบการประเมินคุณภาพพัฒนาหลักสูตร

2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
2.1 อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2.2 จัดสื่อการเรียนการสอนให้พอเพียงและทันสมัย
2.3 กระบวนการเรียนการสอนเน้นการศึกษาค้นคว้าวิจัยและแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง รวมทั้งมีการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง
2.4 มีการประเมินผลการเรียนการสอนของอาจารย์ทุกภาคเรียน
2.5 มีการประเมินผลการเรียนของนักศึกษาระหว่างเรียนและปลายภาคเรียน

3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
3.1 มีอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาให้ปรึกษาแนะนำอย่างต่อเนื่อง

4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และหรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
4.1 ต้องติดตามความต้องการของตลาดแรงงานทุกๆ 4 ปี และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมสอบสัมภาษณ์นักศึกษาปี 2552









รอบทดแทนผู้สละสิทธิ์ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ณ อาคาร พลศึกษา ชั้น 2 มีจำนวนผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ 149 คน
ขาดสอบ 71 คน รวมจำนวนผู้สอบสัมภาษณ์ในรอบนี้ 220 คน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สมรรถนะของนักศึกษา (Student Competencies)

1. ความสามารถในการเรียนรู้ (Ability to Learn)
2. ความใฝ่รู้ (Personal Mastery)
3. ความรู้และความเข้าใจในธุรกิจ (Business Acumen)
4. ความรู้ในด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Knowledge)
5. ความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Knowledge)
6. ความรู้ในด้านระบบเครือข่าย (Network Systems Knowledge)
7. ความรู้ในด้านการออกแบบกราฟิก (Graphic Design Knowledge)
8. ความรู้ในด้านการวิจัย (Research Knowledge)
9. การบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management)
10. ความคิดริเริ่ม (Innovation)
11. ทักษะในการคำนวณ (Calculation Skills)
12. ทักษะในการนำเสนองาน (Presentation Skills)
13. ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
14. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Literacy)
15. ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptability)
16. การควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพ (Personality and Emotion Control)
17. ความรับผิดชอบในงาน (Accountability)
18. การปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อบังคับ (compliance)
19. การใช้อุปกรณ์/เครื่อมือ (Equipment Using)
20. การบริหารงานสำนักงาน/ธุรการ (Office / Admin Management)
21. การบริหารจัดการรายงานและเอกสารต่าง ๆ (Document and Report Management)
22. จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ (Ethics and Intergrity)
23. การแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
24. ความเป็นผู้นำ (Leadership)
25. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ (Concern fot Quality)

งานอาจารย์ที่ปรึกษา

ตารางสอนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552

2500107 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ตอนเรียน C1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
จันทร์ 8.00 – 11.00 ห้องเรียน 11402 ผู้สอน

3601101 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับธุรกิจ ตอนเรียน B1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
จันทร์ 11.30 – 14.30 ห้องเรียน 506 ผู้สอน อ.สุชาดา คุ้มสลุด

1551621 อังกฤษเพื่อธุรกิจ 1 ตอนเรียน A1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
อังคาร 8.00 – 11.00 ห้องเรียน 506 ผู้สอน

1500116 จริยศาสตร์ ตอนเรียน O1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
อังคาร 11.30 – 14.30 ห้องเรียน 506 ผู้สอน

4000110 การคิดและการตัดสินใจ ตอนเรียน G1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
พุธ 8.00 – 11.00 ห้องเรียน 506 ผู้สอน

3611201 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ ตอนเรียน B1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
พุธ 11.30 – 14.30 ห้องเรียน 506 ผู้สอน ผศ.ดร.รัญจวน ประวัติเมือง

1500110 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตอนเรียน L1 หน่วยกิต 3(3-0-6)
พฤหัส 8.00 – 11.00 ห้องเรียน 11402 ผู้สอน

กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน

รายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า

นายจุมพล ม่วงสีศรีอนันต์ : นางสาวสุชาวดี ร่มโพธิ์สุวรรณ :
นางสาวริสา อาดัม : นายเขมทัต เจริญสุข :
นายประภัสร์ สรรเกียรติกุล : นางสาวรุ่งฤดี ติราวรัมย์ :
นางสาวสินจัย บุญวัน : นายภูเมธ เศรษฐบุตร :
นายภาณุวัฒน์ จันทิม : นายสิทธิชัย เจริญสุข :
นางสาวกฤษณา อุบลอ่อน : นางสาวลีลาวดี พรหมพฤกษ์ :
นางสาวชุติมา คำภูแก้ว : นายสมชาย สีสัจจา :
นางสาวพรรณทิวา บุญถนอม : นางสาวอรดา ลาเต็บ :
นายเรียกพล อ้อยทิพย์ : นายอัคคพงษ์ พารุณ :
นายอนุสรณ์ วิริวงษ์ : นายธีระวี บุตรแก้ว :
นายทศพล จรัสสิทธิผล : นางสาวตรียเนตร มีศรีผ่อง :
นายณัฐพล ภูตน : นางสาวอมรรัตน์ ปลื้มประเสริฐ :
นางสาวนันทพร พจนพิมล : นายกิรพัทธ์ ชาวนาเสียว :
นางสาวมณัญญา ลิ้มทองคำ : นายรณชัย ตะกรุดทอง :
นางสาววิไลภรณ์ ทองคุ้มภัย : นายทักษ์ดนัย เลิศมงคล :
นางสาวสิรีย์ แสนสมรส : นายณัฐพล ถิ่นแถลบ :
นายนิกร ชุมาลี : นายพิพัฒน์ ดวงจินดา :
นายศักดินา เนืองนิตย์ : นายชำนาญ กาญจนภูสิต :
นางสาวสุภาพร กตะศิลา : นายเอกลักษณ์ สุจริยานุรักษ์ :
นายฉัตรมงคล ม่วงยิ้ม : นางสาวปวีณา พืชงาม :
นายสิขรินทร์ ทนงแผลง : นายทศพร ทิมมานพ :
นายชุติชัย สุวรรณพานิช : นายอานนท์ มุ่งยอดกลาง :
นายภูมิพันธ์ ศรีวลีรัตน์ : นายจาตุรงค์ จิตรประเสริฐ :
นายปรัชญา เมืองมูล : นายพิชัย ตั้นตระกูล :
นายชนะพล ว่องวรรณพงษ์ : นางสาวตรีนุช ศรีชนะการ :

ชิ้นงานเดี่ยว

1. ให้นักศึกษาส่งข้อมูลเบื้องต้น : รายชื่อ-นามสกุล รหัสประจำตัวนักศึกษา และตอนเรียน การจัดพิมพ์ ด้วย Font: Cordia New 16 หัวข้อ Font: Cordia New 18 ผ่านทางเมล์ของนักศึกษา ขึ้นต้น u ไปให้ผู้สอน ในหัวข้อ INT-INV-IDXX (หมายเหตุ XX หมายถึง ลำดับที่ตามใบรายชื่อกลุ่มตัวอย่าง เช่น 01 - 51)

2. ให้นักศึกษาส่งหัวข้อเรื่องที่สนใจ เพื่อทำฐานข้อมูลคลังสินค้าในประเภทต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ระบุหน่วยงาน/องค์กรที่เลือกจัดทำ (ห้ามซ้ำกันภายในตอนเรียนเดียวกัน)
2.2 จัดส่งโดยใช้เมล์ของนักศึกษา ขึ้นต้น u ไปให้ผู้สอน ในหัวข้อ IRP-INV-IDXX (หมายเหตุ XX หมายถึง ลำดับที่ตามใบรายชื่อกลุ่มตัวอย่าง เช่น 01 - 51)

3. ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย (การจัดส่งในรูปแบบของ File เอกสาร)
3.1 ชื่อธุรกิจ/หน่วยงาน ที่ต้องการนำเสนอ
3.2 ประเภท/ลักษณะในการดำเนินธุรกิจ
3.3 โครงสร้างของหน่วยงาน/องค์กร Organization Chart
3.4 โครงสร้างของข้อมูลที่จะจัดทำคลังสินค้า เช่น ข้อมูลลูกค้า, สินค้า, พนักงาน, ผู้ผลิต, การชำระเงิน ฯลฯ ในรูปแบบ File Excel
3.5 อธิบายองค์ประกอบข้อ 3.4 โดยสรุป เช่น คุณลักษณะ, ปริมาณของข้อมูล และการเชื่อมโยง
3.6 ค้นหารูปภาพที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อประกอบการทำฐานข้อมูล เช่น ลูกค้า, สินค้า, พนักงาน ในรูปแบบ File GIF, JPEG หรือ TIFF
3.7 ทำการออกแบบฐานข้อมูลคลังสินค้า โดยใช้โครงสร้างของข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้ ประกอบด้วยเมนู Table, Form, Query, Report ซึ่งเป็นเครื่องมือจากโปรแกรม MS Access
3.8 ทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลคลังสินค้า ที่ได้ออกแบบไว้ในข้อ 3.7
3.9 ดำเนินการทดสอบการใช้งานโปรแกรมที่ได้ออกแบบมา เพื่อดูความถูกต้อง สมบูรณ์ ของชิ้นงาน
3.10 ทำการนำเสนอผลงานรายบุคคลที่แล้วเสร็จสมบูรณ์

4. เกณฑ์การจัดส่งงานในภาคเรียน ให้นักศึกษาดำเนินการส่งงานตามข้อกำหนด เมื่อผู้สอนทำการตรวจสอบเรียบร้อยจะทำการแนะนำ และให้ข้อเสนอแนะตอบกลับ จากนั้นนักศึกษาทำการวิเคราะห์ ปรับปรุง ปรึกษาผู้สอน และดำเนินการส่งใหม่ภายใน 7 วันหลังจากที่ได้รับการแนะนำ
4.1 ครั้งที่ 1 ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยใช้หัวข้อ IRP- INV-IDXX (รหัสหมายเลขสองตัวท้าย หมายถึง ลำดับที่ตามใบรายชื่อกลุ่มตัวอย่าง เช่น 01 – 51 ที่ผู้สอนได้คัดเลือกไว้)
4.2 ครั้งที่ 2 ดำเนินการตามข้อ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อที่ 3.1 - 3.5 ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552
4.3 ครั้งที่ 3 ดำเนินการตามข้อ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อที่ 3.6 - 3.9 ภายในวันที่ 1 กันยายน 2552
4.4 ครั้งที่ 4 ดำเนินการตามข้อ 3.10 ภายในวันที่ 18 กันยายน 2552

งานวิจัยในชั้นเรียน

วิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติในการจัดการคลังสินค้าด้วยการประยุกต์ใช้สื่อคอมพิวเตอร์
1. เพื่อศึกษาวิธีการเรียนการสอนด้วยการให้แบบฝึกปฏิบัติ ทบทวนท้ายบทเรียน
2. เพื่อศึกษาพัฒนาการในการทำแบบทดสอบวัดผลของนักศึกษา
3. เพื่อศึกษาทัศนคติ และทักษะในการสร้างงานเดี่ยวของนักศึกษา
ขอบเขตการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักศึกษาของคณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรการบริหาธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาโปรแกรมประยุกต์การจัดการคลังสินค้าในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 4 ตอนเรียน ที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 รวม 50 คน
ระยะเวลาในการทดลอง : วิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552 รวม 4 เดือน
ความสำคัญของการวิจัย : ประโยชน์ในการวิจัยครั้งนี้จะทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะการเรียนรู้ และทัศนคติที่ดี ส่งผลให้การเรียนของนักศึกษามีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนครั้งต่อไป ก่อให้เกิดคุณค่าต่อหลักสูตรสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในอนาคต
เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย
1. เครื่องมือทดลอง คือ แผนการสอน, แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน, การสร้างชิ้นงานเดี่ยว, แบบทดสอบวัดผล,สื่อวัสดุการสอน, สื่อภาพเลื่อน และเว็บไซต์
2. เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
- คะแนนการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
- คะแนนการสร้างชิ้นงานเดี่ยว
- คะแนนแบบทดสอบวัดผล
เกณฑ์คุณภาพ/ความสำเร็จ
- คะแนนความสามารถในการแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละครั้ง
- คะแนนความก้าวหน้าในการใช้ MS Access จากชิ้นงานเดี่ยวของนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ
- จำนวนนักศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนความสามารถในการทำข้อสอบจากแบบทดสอบวัดผลสูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม

ติดต่อ

ห้องพักอาจารย์อาคารเรียน 32 ชั้น 5 ข้างห้องเรียน 507
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

โครงสร้างหลักสูตร สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี มีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชา และกลุ่มวิชา ดังนี้


จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้เรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กับคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
(ให้เลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดวิชาหนึ่ง เพิ่มอีก 3 หน่วยกิต เพื่อให้ครบ 30 หน่วยกิต)


ข. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 99 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาแกน 42 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับ 42 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเลือก 15 หน่วยกิต


ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

อ่านเพิ่มเติม www.bizcom.dusit.ac.th